รู้มั๊ยว่าการทำงานจะง่ายขึ้นเพียงแค่ใช้ฟิล์มยืด

 


     ฟิล์มยืด ถูกผลิตมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้เราหลาย ๆ ด้านทั้งการขนส่ง การบรรจุหีบห่อ หรือแม้กระทั่งการป้องกันอาหารให้คงความสดไว้ได้ยาวนานขึ้น

     ฟิล์มยืด หรือ Stretch Cling Film คือ ฟิล์มพลาสติก ที่มีคุณสมบัติที่เฉพาะตัวคือ ความเหนียว อีกทั้ง ความสามารถในการยืดตัว และการเกาะติดกันเองเมื่อสัมผัสกัน ทำให้ฟิล์มยืดถูกใช้เป็นจำนวนมากใน เกือบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ต้องมีความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรกในการใช้งาน อย่างไรก็ดีฟิล์มยังไม่ใช่แค่การใช้งานในด้านอาหารเท่านั้น การขนส่ง และการจัดเก็บสินค้า ฟิล์มยืด ก็ เข้ามามีบทบาท และสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะต้นทุนการใช้งาน ค่อนข้างที่จะถูกกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ และก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งมีการใช้งานมากขึ้น ทุกทีจนตอนนี้ ไม่มีใครที่ไม่ใช้ ฟิล์มยืดพันพาเลท ในการขนส่ง

ความหลากหลายของการใช้งานที่แสนเอนกประสงค์

     เพราะหลายอุตสาหกรรมมีการใช้งานเจ้าพลาสติคชนิดนี้ที่แตกต่างกันไป ชนิดของวัสดุหรือพลาสติคที่นำมาทำฟิล์มก็แตกต่างกันด้วยเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่ชนิดหลัก ๆ ของพลาสติคก็ยังจำกัดอยู่ สามชนิดที่นิยมใช้กันคือ PE (polyethylene),PVC(PolyVinylChloride) และ PVDC(PolyVinyliDene Chloride) ส่วนการนำไปผลิตเป็นฟิล์มยืดชนิดใดนั้นก็แล้วแต่ละบริษัทจะนำไปพัฒนา และเพิ่มสารอื่น ๆ เข้าไป เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ดีขึ้นให้ฟิล์มแต่ละประเภทไป 

    ฟิล์มที่ใช้สำหรับธุรกิจอาหารมักที่จะเลือกใช้ ฟิล์มที่มีคุณสมบัติสัมผัสกับอาหารได้หรือฟิล์มที่เหนียวเป็นพิเศษที่สามารถรักษาความสดของอาหารได้เช่น พลาสติกพวก PVC เป็นต้น ส่วน ในการขนส่ง PE เป็น พลาสติกที่มักถูกเลือกนำมาใช้งานมากกว่าแบบอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะเป็น PE ชนิด LLDPE (Linear Low Density Polyethylene ) เนื่องจากมีความเหนียวกว่าแบบอื่น ความหนาบางที่ใช้กันในฟิล์มที่ใช้สำหรับ ขนส่งมักจะให้มีการพ่นพลาสติค 3 – 5 ชั้นเพื่อการยึดติดที่ดีขึ้น

    ในเมืองไทยนั้น ฟิล์มยืดที่ใช้สำหรับขนส่งมักมี สีใส แต่ ในต่างประเทศมักมีการผลิตให้มีหลากหลายสีเช่น มีการกำหนดว่า สีใสใช้ในงานทั่วไป งานขนส่ง สีดำ ใช้สำหรับงานไฟฟ้า อีเลคโทรนิคต่าง ๆ และ สีฟ้า สำหรับงานสิ่งแวดล้อม งานป้องกัน หรือ เกี่ยวกับสาธารณสุข หรือ ยา เป็นต้น

       นอกจากนี้ ก็ยังมีการแยกการใช้งานเป็นสองประเภทตามการใช้งานอีกด้วยคือ แบบทั่วไปที่ใช้มือช่วยในการซีลสินค้า และ ใช้เครื่องจักรช่วยในการซีลสินค้า ขนาดความหนาทั่ว ๆ ไปก็จะผลิตกันตั้งแต่ขนาด 15 – 50 micron ส่วนส่วนความกว้างมีตั้งแต่ 100 – 10,000 mm แต่ในเมืองไทยมีนิยมผลิตกันอยู่ 2 ขนาดคือ 30 และ 50 เซนติเมตร ส่วนความยาวก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ 300 ถึง 500 เมตร แต่สำหรับซีลที่ ใช้กับเครื่องจะมีความหนาตัวฟิล์มมากกว่าตั้งแต่ 1,200 – 2,500 เมตรเลยทีเดียว

 

Visitors: 118,005